top of page
  • Writer's picturePranon L.

สเต็มเซลล์นิยมเก็บจากไหนบ้าง

พาสำรวจ 4 แหล่งที่มายอดนิยมในการจัดเก็บสเต็มเซลล์


ไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า สเต็มเซลล์ (Stem cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิด คือ นวัตกรรมการฟื้นฟูร่างกายและการช่วยชะลอวัยแห่งอนาคต ที่จะสามารถช่วยเปิดประตูสู่ความเป็นไปได้และประโยชน์ที่ไม่สิ้นสุดของวงการวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์และเวชศาสตร์ชะลอวัยได้อย่างแท้จริง ซึ่งแน่นอนว่านอกเหนือไปจากการให้ความสำคัญกับความสามารถที่โดดเด่นของสเต็มเซลล์ในการช่วยรักษาโรคในปัจจุบันแล้วนั้น การทำความเข้าใจว่าสเต็มเซลล์มีแหล่งกำเนิดมาจากไหนและสามารถเก็บจากที่ไหนได้บ้าง ก็ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการนำเอาสเต็มเซลล์มาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่นเดียวกัน


โดยในบทความนี้ LBM Stem Cell Research Unit จะขอพาทุกคนมาร่วมเจาะลึกเข้าไปใน 4 แหล่งที่มาในการจัดเก็บสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด ที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้จัดเก็บสเต็มเซลล์มากที่สุดได้แก่ ไขกระดูก กระแสเลือด รก และสายสะดือ พร้อมร่วมสำรวจข้อดีและข้อจำกัดของการจัดเก็บสเต็มเซลล์ในแต่ละแหล่งที่มา ดังนี้


ไขข้อสงสัย สเต็มเซลล์สามารถจัดเก็บจากที่ไหนได้บ้าง ?


สเต็มเซลล์จากไขกระดูก

ไขกระดูก (Bone Marrow) เป็นเนื้อเยื่อชนิดพิเศษที่มีลักษณะเป็นโพรงและมีเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มคล้ายกับฟองน้ำ โดยสเต็มเซลล์ที่อยู่ในไขกระดูกจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่สามารถพบได้ที่บริเวณแกนกลางของกระดูกท่อนใหญ่ ๆ ของร่างกาย อาทิ กระดูกแขน กระดูกขา และกระดูกเชิงกราน เป็นต้น โดยไขกระดูกถือได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญและเป็นแหล่งที่มีสเต็มเซลล์สำหรับการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก


วิธีการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากไขกระดูก การจัดเก็บสเต็มเซลล์จากไขกระดูกจะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในห้องปลอดเชื้อ โดยผู้ที่ทำการบริจาคสเต็มเซลล์จากไขกระดูกจะได้รับการดมยาสลบโดยวิสัญญีแพทย์ ก่อนที่ทีมแพทย์จะทำการเจาะเก็บสเต็มเซลล์จากไขกระดูกที่บริเวณกระดูกสะโพกด้านหลัง โดยจะใช้ระยะเวลาในการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากไขกระดูกประมาณ 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นผู้บริจาคจะได้รับการให้เลือดและจะต้องพักฟื้นร่างกายต่ออีกประมาณ 5-7 วัน


ข้อดีของการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากไขกระดูก

  1. ไขกระดูกเป็นแหล่งที่มาที่อุดมสมบูรณ์ของสเต็มเซลล์ : โดยภายในไขกระดูกถือเป็นแหล่งกักเก็บสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดมากมาย ที่มีความสามารถที่โดดเด่นในการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นเซลล์ประเภทอื่น ๆ ได้อย่างหลากหลาย

  2. สเต็มเซลล์จากไขกระดูกตอบโจทย์ด้านประโยชน์ทางการแพทย์ : สเต็มเซลล์จากไขกระดูกได้รับการพิสูจน์ในทางการแพทย์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการช่วยฟื้นฟูโรคร้ายต่าง ๆ อาทิ มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งบางชนิด


ข้อจำกัดของการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากไขกระดูก

  1. ขั้นตอนการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากไขกระดูกค่อนข้างมีความยุ่งยาก : อีกทั้งการเจาะเก็บสเต็มเซลล์จากไขกระดูกที่บริเวณกระดูกสะโพกยังอาจก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวและต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวที่ค่อนข้างนาน

  2. สเต็มเซลล์จากไขกระดูกมีปริมาณที่จำกัด : แม้ว่าสเต็มเซลล์จากไขกระดูกจะค่อนข้างมีความสมบูรณ์แต่หากเทียบกับปริมาณสเต็มเซลล์ที่ได้รับจากการจัดเก็บด้วยวิธีดังกล่าวนี้ถือว่าค่อนข้างต่ำ

สเต็มเซลล์จากกระแสเลือด

โดยปกติแล้ว เลือดของเราจะมีสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด โดยหากนำไปเทียบกับสเต็มเซลล์จากแหล่งที่มาอื่น ๆ นั้น สเต็มเซลล์จากกระแสเลือดถือได้ว่ามีปริมาณที่น้อยมาก ๆ อย่างไรก็ตามสเต็มเซลล์จากกระแสเลือดนั้นก็สามารถมีปริมาณเพิ่มขึ้นได้อย่างมหาศาลหากได้รับการกระตุ้นจากไซโตไคน์ (Cytokines) หรือตัวกระตุ้นการทำงานของไขกระดูกที่เหมาะสม อาทิ G-CSF ซึ่งเป็นสารกระตุ้นไขกระดูกที่ร่างกายของเราสามารถผลิตขึ้นได้เองตามธรรมชาติ เป็นต้น


วิธีการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด

อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่า สเต็มเซลล์จากกระแสเลือดจำเป็นที่จะต้องได้รับการกระตุ้นจากไซโตไคน์เพื่อให้มีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นแล้วผู้ที่ทำการบริจาคเต็มเซลล์จากกระแสเลือดจะต้องได้รับการฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว (G-CSF) วันละ 1 ครั้ง ก่อนการบริจาคสเต็มเซลล์ 4 วัน เพื่อเป็นการกระตุ้นปริมาณสเต็มเซลล์ในกระแสเลือด โดยในการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด ทีมแพทย์จะทำการเจาะเก็บสเต็มเซลล์จากหลอดเลือดดำที่บริเวณข้อพับแขนทั้ง 2 ข้าง ด้วยเครื่องคัดแยกสเต็มเซลล์ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการจัดเก็บประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งอาจใช้เวลา 1-2 วัน และผู้บริจาคจะต้องพักฟื้นร่างกายอย่างน้อยประมาณ 3-5 วัน


ข้อดีของการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด

  1. การจัดเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสเลือดสามารถทำได้ง่าย : อีกทั้งการเจาะเลือดยังเป็นขั้นตอนทางการแพทย์ทั่วไปที่ให้ความรู้สึกเจ็บปวดในระหว่างขั้นตอนการจัดเก็บและการพักฟื้นที่น้อยกว่าการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากไขกระดูก

  2. สเต็มเซลล์จากกระแสเลือดสามารถนำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวาง : โดยการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสเลือดสามารถรวบรวมสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด (Peripheral Blood Stemcell : PBSC) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการรักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมาย


ข้อจำกัดของการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด

  1. สเต็มเซลล์จากกระแสเลือดมีศักยภาพน้อยกว่า : โดยถึงแม้ว่าสเต็มเซลล์จากกระแสเลือดจะมีประสิทธิภาพ แต่ประสิทธิภาพนั้นก็ยังน้อยกว่าสเต็มเซลล์ที่ได้จากรกของตัวอ่อน

  2. การจัดเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสเลือดอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงในระหว่างการจัดเก็บ : โดยผู้ที่เข้ารับการบริจาคสเต็มเซลล์จากกระแสเลือดอาจพบผลข้างเคียงเล็กน้อย อาทิ อาการปวดกระดูกหรือปวดศีรษะในระหว่างกระบวนการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด

สเต็มเซลล์จากรก

รกของทารกแรกเกิดเป็นหนึ่งในแหล่งที่อุดมไปด้วยสเต็มเซลล์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการรักษาโรคภัยต่าง ๆ ให้กับเจ้าของสเต็มเซลล์ได้ในทันทีโดยที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องตรวจสอบความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ อีกทั้งยังสามารถนำมาแบ่งปันให้กับสมาชิกในครอบครัวได้ นอกจากนี้ สเต็มเซลล์จากรกยังเป็นแหล่งที่มาของสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์) ที่สามารถช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล์ชนิดต่าง ๆ อีกทั้งยังตอบโจทย์การนำมาใช้ในการช่วยชะลอวัยและแก้ไขปัญหาผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ


วิธีการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากรก

เมื่อทารกแรกคลอด ทีมแพทย์จะทำการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อหุ้มรก Amnion Tissue (AT) โดยสเต็มเซลล์ที่ผ่านการคัดแยกและตรวจสอบคุณภาพแล้วจะถูกนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อเพิ่มจำนวนและทำให้สเต็มเซลล์มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ก่อนจะถูกนำมาเก็บรักษาเอาไว้ในไนโตรเจนเหลวเพื่อรอการนำมาใช้ประโยชน์ในอนาคต


ข้อดีของการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากรก

  1. สเต็มเซลล์จากรกอุดมไปด้วยเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด : ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเป็นเซลล์เลือดและเซลล์ที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน

  2. สเต็มเซลล์จากรกไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดในขณะจัดเก็บ : เนื่องจากสเต็มเซลล์จากรกจะถูกจัดเก็บทันทีหลังคลอดบุตร ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อทั้งมารดาและทารก

  3. สเต็มเซลล์จากรกเข้ากันได้ดีกับผู้รับ : สเต็มเซลล์จากรกสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่สเต็มเซลล์จะถูกปฏิเสธจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ข้อจำกัดของการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากรก

  1. สเต็มเซลล์จากรกมีปริมาณที่จำกัด : โดยปริมาณสเต็มเซลล์ที่ได้จากรกจะน้อยกว่าสเต็มเซลล์ที่ได้จากแหล่งที่มาอื่น ๆ

  2. สเต็มเซลล์จากรกมีต้นทุนในการจัดเก็บสูง : เนื่องจากสเต็มเซลล์จากรกต้องทำการจัดเก็บรักษาเอาไว้ในธนาคารสเต็มเซลล์ภายใต้สภาวะที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษเพื่อให้สเต็มเซลล์มีชีวิตรอด

สเต็มเซลล์จากสายสะดือ

สายสะดือ (Umbilical Cord) ของทารกแรกเกิดถือเป็นอีกหนึ่งต้นกำเนิดที่สำคัญของสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์ (Umbilical Cord Mesenchymal Stem Cells: MSCs) ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการช่วยฟื้นฟูความเสื่อมของร่างกายจากโรคภัยต่าง ๆ ร่วมกับการช่วยฟื้นคืนความอ่อนเยาว์ (Anti-Aging) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


วิธีการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากสายสะดือ

หลังจากที่ทารกแรกคลอด ทีมแพทย์จะทำการใช้คีมหนีบที่บริเวณสายสะดือทั้งสองข้างเพื่อแยกสายสะดือที่เชื่อมระหว่างแม่และทารกออกจากกัน ก่อนจะนำสายสะดือที่ผ่านการจัดเก็บเลือดจากสายสะดือเป็นที่เรียบร้อยแล้วมาทำการตัดแบ่งเนื้อเยื่อออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่พร้อมสำหรับการนำมาเข้าสู่กระบวนการเพาะเลี้ยงและจัดเก็บสเต็มเซลล์เอาไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคตอีกครั้ง


ข้อดีของการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากสายสะดือ

  1. สเต็มเซลล์จากสายสะดือเหมาะสำหรับการนำมาใช้รักษาโรคในผู้ใหญ่ : โดยเฉพาะโรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมของร่างกาย อาทิ โรคข้อเข่าอักเสบ (Osteoarthritis) โรคเบาหวาน (Diabetes) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Multiple Sclerosis) ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome) เป็นต้น เนื่องจากสเต็มเซลล์จากสายสะดือสามารถแบ่งตัวเป็นเซลล์ประเภทต่าง ๆ เช่น ไขมัน กระดูก หรือกระดูกอ่อน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  2. สเต็มเซลล์จากสายสะดือมีวิธีการจัดเก็บที่ง่ายกว่าสเต็มเซลล์จากแหล่งที่มาอื่น ๆ : อีกทั้งยังไม่รบกวนกระบวนการคลอด และไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่มารดาหรือทารกจะได้รับความเจ็บปวดหรืออันตรายในระหว่างกระบวนการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากสายสะดืออีกด้วย

ข้อจำกัดของการจัดเก็บสเต็มเซลล์จากสายสะดือ

  1. การจัดเก็บสเต็มเซลล์จากสายสะดือมีค่าใช้จ่ายสูง : เนื่องจากสเต็มเซลล์จากสะดือจะต้องถูกคัดแยก เพาะเลี้ยง และจัดเก็บภายในห้องปฏิบัติที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดสำหรับการเติบโตของสเต็มเซลล์โดยเฉพาะ

  2. สเต็มเซลล์จากสายสะดือต้องใช้ระยะเวลาในการเพาะเลี้ยง : ส่งผลให้การจะได้มาซึ่งสเต็มเซลล์จากสายสะดือจึงต้องใช้ระยะเวลาที่นานกว่าสเต็มเซลล์ที่ได้มาจากกระแสเลือดหรือไขกระดูกโดยตรง


อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณาว่าสเต็มเซลล์ที่ได้รับการจัดเก็บจากแหล่งที่มาไหนมีความเหมาะสมมากที่สุดนั้นก็จะต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาข้อกำหนดทางการแพทย์ ความต้องการของผู้บริจาค และรายละเอียดของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อเป้าหมายในการช่วยทำให้พลังอันน่าทึ่งของสเต็มเซลล์สามารถช่วยสร้างรากฐานที่สำคัญให้กับความก้าวหน้าทางการแพทย์และเวชศาสตร์ชะลอวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ


LBM Stem Cell Research Unit เป็นศูนย์วิจัยและผู้ให้บริการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ (Stem Cells) หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่มุ่งมั่นศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด (Cell-based Therapy) มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ Phd ด้านเซลล์ต้นกำเนิด และ นักเทคนิคการแพทย์ ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเซลล์ต้นกำเนิดหรือ หรือสเต็มเซลล์ (Stem Cells) และวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Technology) อย่างแท้จริง ผลิตภัณฑ์ LBM Regenerative Cells คือสเต็มเซลล์ที่เราเลือกเก็บมาจากสายสะดือ หรือ Umbilical Cord Mesenchymal Stem Cell (UC-MSCs) สามารถช่วยซ่อมแซม ป้องกันความเสื่อม ฟื้นฟูความเสียหาย เพื่อประโยชน์ทั้งในด้านการแพทย์และเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาพเสื่อมได้อย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพมากที่สุด


ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม LBM Stem Cell Research Unit

Facebook : LBMStemCells

LINE : @lbmstemcell

133 views0 comments

Comments


bottom of page