เมื่อไวรัส SAR-CoV-2 หรือโควิดติดเข้าสู่ปอดแล้วจะไปเกาะอยู่บริเวณเซลล์เยื่อบุผิวถุงลม ร่างกายจะรับรู้ได้ถึงสภาวะการติดเชื้อ และเริ่มทำหน้าที่ส่งเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดต่างๆ เช่น neutrophils, macrophages, NK cells, T cells และ B cell มาที่บริเวณนั้นอัตโนมัติ เพื่อทำการลายเซลล์ไวรัสโควิด โดยการหลั่งสารไซโตไคน์ (Cytokines) ชนิดต่างๆ ออกมา (Cytokine storm) เพื่อฆ่าไวรัส แต่เนื้อเยื่อปอดของเราก็ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ด้วย
ทำให้กระตุ้นตัวรับรู้การไอ ผู้ป่วยจึงไอ ทำลายเซลล์เยื่อบุผิวถุงลม (Alveolar damage) ของเหลวจากภายนอกจึงซึมเข้ามายังภายในถุงลมมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอด ผู้ป่วยจึงหายใจลำบาก คล้ายๆ จะจมน้ำ ทำลายเซลล์ที่สร้างสารลดแรงตึงผิว ดังนั้นปริมาณสารลดแรงตึงผิวจึงลดลง ส่งผลให้แรงตึงผิวบริเวณถุงลมเพิ่มขึ้น ถุงลมจึงหดแฟบ ขยายตัวลำบาก
ทั้งนี้ปอดแฟบ ปอดเลยขยายตัวลำบาก ปริมาตรอากาศที่ไหลเข้าสู่ปอดลดลง ปริมาณออกซิเจนในเลือดจึงลดลงตามไปด้วย ทำให้เกิดภาวะเลือดพร่องออกซิเจน และเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน ร่างกายจึงตอบสนองด้วยการเพิ่มอัตราการหายใจ ผู้ป่วยจึงมีการหายใจเร็ว แต่เนื่องจากปอดขยายตัวได้ไม่ดี การหายใจเข้าลึกจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทรมาน เนื่องจากต้องใช้แรงในการหายใจเพื่อที่จะทำให้ปอดขยายมากกว่าสภาวะปกติ ผู้ป่วยจึงหายใจสั้นและตื้น รวมถึงมีอาการหายใจหอบเหนื่อยร่วมด้วย หากมีอาการหนักผู้ป่วยจะไม่สามารถหายใจได้เอง จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ นอกจากการตอบสนองทางระบบหายใจแล้ว ร่างกายยังตอบสนองด้วยการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ เนื่องจากต้องการให้เลือดไหลไปยังปอดมากขึ้น เพื่อคงการแลกเปลี่ยนก๊าซให้เป็นปกติมากที่สุด แต่เมื่อมีการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ MSCs สามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อถุงลม และปอดจากการทำลายของไวรัสโควิด รวมถึงเจริญเติบโตไปเป็นเซลล์ถุงลมชนิดที่ 2 (Type II Alveolar epithelial cells) และเซลล์ปอดโดยการหลั่งไซโตไคน์หลายชนิด เช่น HGF, VEGF และ KGF เซลล์ MSCs สามารถสร้างและหลั่งกลุ่มของสารเคมี (Chemokines) ที่เป็นประโยชน์ในการลดการอักเสบ (Inflammation) การสื่อสาร และส่งเสริมการทำงานระหว่างเซลล์ และชนิดต่างๆ (paracrine effect) เช่น Indoleamine 2,3-dioxygenase, transforming growth factor-beta, human leukocyte antigen isoform, and prostaglandin E2 neutrophils, macrophages, NK cells, T cells และ B cell LBM Stemcell ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก Shi et al (2021). Mesenchymal stem cell therapy for severe COVID-19. Signal Transduction and Targeted Therapy. 6:339. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ FB: LBMstemCell Line OA: @lbmstemcell Tel: 02-114-7635
Comments